วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Glutathione กลูต้าไธโอน
กลูต้าหน้าขาว วลีฮิตติดปาก กินกลูต้า ฉีดกลูต้าแล้วจะขาว!! จริงป่ะ?? 

Glutathione คืออะไร
กลูต้าไธโอนเป็นโมเลกุลที่มีความสำคัญต่อร่างกายของเรา ทำให้ร่างกายแข็งแรงและปราศจากโรค มีรายงานวิจัยทางการแพทย์มากมายเกี่ยวกับ Glutathione มีคำกล่าวเกี่ยวกับกลูต้าไธโอนว่าเป็นเจ้าแม่ของสารต้านอนุมูลอิสระ " mother of all antioxidant"เป็นที่กล่าวขวัญขนาดนี้ไม่รู้จักไม่ได้แล้ว... ข่าวดีก็คือ Glutathione เป็นโมเลกุลที่ร่างกายสร้างได้เอง แต่...การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ มลภาวะ สารพิษ คามเครียด อายุ ส่งผลให้ระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายเราลดปริมาณลง (จากกราฟจะเห็นว่าระดับกลูต้าไธโอนในร่างกายจะลดระดับลงเรื่อยๆเมื่อย่างเข้าวัยยี่สิบ โดยลดปริมาณลง 10-15% ทุกๆ 10 ปี การลดลงอาจเพิ่มขึ้นหากมี oxidative stress เพิ่มสูงขึ้น) โมเลกุลของกลูต้าไธโอนเกิดจากการเชื่อมกันของกรดอะมิโนสามชนิดคือ cysteine, glycine และ glutamate

Glutathione กับความขาว
เมื่อพูดถึงความขาวก็ต้องย้อนไปที่ กลไกการสร้างเม็ดสี เม็ดสีหรือเมลานินในร่างกายแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ Eumelanin(เม็ดสีน้ำตาล) และ Pheomealnin (เม็ดสีขาวอมชมพู) โดยกระบวนการสร้างเม็ดสีอาศัยสารตั้งต้นคือกรดอะมิโน tyrosine โดยมีเอนไซม์tyrosinase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ถ้าในร่างกายมีปริมาณ Glutathione มาก ปฏิกิริยาจะเกิดมาทาง cysteinyl DOPA ส่งผลให้การสร้าง Pheomelanin หรือเม็ดสีขาวชมพูเพิ่มขึ้น

Glutathione ฉีด หรือกินดี
การเพิ่มปริมาณ Glutathione โดยวิธีรับประทานนั้นพบว่าได้ผลไม่ดีนัก เรียกว่าแทบไม่ได้ผลเลย เพราะ Glutathione มีการดูดซึมน้อยมาก แล้วการฉีดล่ะ จริงๆยาฉีด Glutathione มีที่ใช้มานานแล้วแต่ใช้รักษาโรค ไม่ได้ใช้เพื่อฉีดผิวขาว เนื่องจากกลูต้าไธโอนไม่คงตัวในกระแสเลือด การฉีดกลูต้าไธโอนให้ผิวขาวให้เห็นผลต้องฉีดบ่อย  2 ครั้ง/สัปดาห์ โดยเป็นการฉีดเข้ากระแสเลือด ย้ำๆค่ะว่าอันตราย ถ้าหากมีอาการแพ้ยา อาจถึงขั้นช๊อค เสียชีวิตได้ นอกจากนี้การฉีดบ่อยๆอาจส่งผลต่อเม็ดสีในจอตาลดลง มีปัญหาในการรับแสงได้
แล้วเราจะเพิ่มระดับกลูต้าไธโอนได้อย่างไรล่ะ ...
คำตอบก็คือเราต้องรับประทานอาหารที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการสร้าง Glutathione ในร่างกายได้แก่
1.รับประทานอาหารที่มี ซัลเฟอร์สูง (sulfur-rich foods) พบมากในกระเทียม หอมใหญ่และพืชกลุ่มกะหล่ำ
2.Bioactive whey protein เป็นแหล่งอะมิโน cysteine ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ glutathione  โดยเน้นว่า Whey protein นั้นต้องเป็น bioactive และได้มาจาก non-denatures peoteins เท่านั้น
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. N-acetyl-cysteine
5. Alpha lipoic acid
6. Methylation nutrients (folate and vitamins B6 and B12) มีส่วนช่วยการสร้างกลูต้าไธโอน
7. Selenium ช่วยส่งเสริมการสร้างกลูต้าไธโอนและกระบวนการนำกลูต้าไธโอนกลับมาใช้ใหม่
8. vitamins C and E
9. Milk thistle (silymarin)
อ้างอิง
(i) De Rosa SC, Zaretsky MD, Dubs JG, Roederer M, Anderson M, Green A, Mitra D, Watanabe N, Nakamura H, Tjioe I, Deresinski SC, Moore WA, Ela SW, Parks D, Herzenberg LA, Herzenberg LA. N-acetylcysteine replenishes glutathione in HIV infection. Eur J Clin Invest. 2000 Oct;30(10):915-29
(ii) Nuttall S, Martin U, Sinclair A, Kendall M. 1998. Glutathione: in sickness and in health. The Lancet 351(9103):645-646

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น